ครุ (คะ-รุ) หมายถึง คำหรือพยางค์ในภาษาไทยที่มี "เสียงหนัก" ลหุ (ละ-หุ) หมายถึง คำหรือพยางค์ในภาษาไทยที่มี "เสียงเบา" ซึ่งประสมด้วยสระเสียงสั้นในแม่ ก กา เช่น สุ จิ ปุ ลิ ส(งบ) สะ(อาด) ส(ว่าง) ฯลฯ ครุและลหุ มักใช้เป็นตัวกำหนดฉันทลักษณ์ในบทร้องกรองเช่น ฉันท์ กาพย์ เป็นต้น
ลักษณะของครุ
เป็นคำหรือพยางค์ที่ประสมด้วยสระเสียงยาวไม่มีตัวสะกดก็ได้ หรือเป็นคำหรือพยางค์ที่มีเสียงตัวสะกดทุกมาตรา ได้แก่ แม่ กก กด กบ กง กน กม เกย และเกอว เช่นคำว่า ฟ้า นั่ง พริก ไหม พรม นนท์ เชษฐ์ เป็นต้น