ภาษาไทย

ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง


ภาษาไทย เป็นภาษาทางการของประเทศไทย ภาษาแม่ของชาวไทย และชนเชื้อสายอื่นในประเทศไทย ภาษาไทยเป็นภาษาในกลุ่มภาษาไต ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของตระกูลภาษาไท-กะได สันนิษฐานว่า ภาษาในตระกูลนี้มีถิ่นกำเนิดจากทางตอนใต้ของประเทศจีน และนักภาษาศาสตร์บางท่านเสนอว่า ภาษาไทยน่าจะมีความเชื่อมโยงกับ ตระกูลภาษาออสโตร-เอเชียติก ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน ตระกูลภาษาจีน-ทิเบต

ชื่อภาษาและที่มา

คำว่า ไทย หมายความว่า อิสรภาพ เสรีภาพ หรืออีกความหมายหนึ่งคือ ใหญ่ ยิ่งใหญ่ เพราะการจะเป็นอิสระได้จะต้องมีกำลังที่มากกว่า แข็งแกร่งกว่า เพื่อป้องกันการรุกรานจากข้าศึก แม้คำนี้จะมีรูปเหมือนคำยืมจากภาษาบาลีสันสกฤต แต่แท้ที่จริงแล้ว คำนี้เป็นคำไทยแท้ที่เกิดจากกระบวนการสร้างคำที่เรียกว่า 'การลากคำเข้าวัด' ซึ่งเป็นการลากความวิธีหนึ่ง ตามหลักคติชนวิทยา คนไทยเป็นชนชาติที่นับถือกันว่า ภาษาบาลีซึ่งเป็นภาษาที่บันทึกพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นภาษาอันศักดิ์สิทธิ์และเป็นมงคล เมื่อคนไทยต้องการตั้งชื่อประเทศว่า ไท ซึ่งเป็นคำไทยแท้ จึงเติมตัว ย เข้าไปข้างท้าย เพื่อให้มีลักษณะคล้ายคำในภาษาบาลีสันสกฤตเพื่อความเป็นมงคลตามความเชื่อของตน ภาษาไทยจึงหมายถึงภาษาของชนชาติไทยผู้เป็นไทนั่นเอง

พยัญชนะในภาษาไทย

อักษรไทยทั้ง 44 รูป
อักษรไทย เป็นอักษรที่ใช้เขียนภาษาไทย และภาษากลุ่มน้อยอื่น ๆ ในประเทศไทย มีพยัญชนะ 44 รูป สระ 21 รูป วรรณยุกต์ 4 รูป และเครื่องหมายอื่น ๆ อีกจำนวนหนึ่ง พยัญชนะไทยจะเรียงตัวไปตามแนวนอน จากซ้ายไปขวา ส่วนสระจะอยู่หน้า บน ล่าง และหลังพยัญชนะประกอบคำแล้วแต่ชนิดของสระ
อักษรไทยไม่มีการแยกอักษรตัวใหญ่หรืออักษรตัวเล็กอย่างอักษรโรมัน และไม่มีการเว้นวรรคระหว่างคำ เมื่อจบหนึ่งประโยคจะลงท้ายด้วยการเว้นวรรค กับมีเครื่องหมายวรรคตอนจำนวนหนึ่ง
ภาษาไทยมีตัวเลขเป็นของตัวเอง แต่นิยมใช้เลขอารบิกเป็นส่วนใหญ่ในชีวิตประจำวัน

สระ

สระในภาษาไทยมี 21 รูป ซึ่งรูปสระเหล่านี้จะนำไปประกอบเป็นรูปสระที่ใช้จริงอีกต่อหนึ่ง
  •  วิสรรชนีย์
  •  ั ไม้หันอากาศ
  •  ็ ไม้ไต่คู้
  •  ลากข้าง
  •  ิ พินทุ์อิ
  •  ่ ฝนทอง
  •  ํ นิคหิต

วรรณยุกต์

วรรณยุกต์ในภาษาไทยมี 4 รูป 5 เสียง
คำทุกคำในภาษาไทยจะมีเสียงวรรณยุกต์เสมอ แม้ว่าจะไม่มีรูปวรรณยุกต์แสดงให้เห็นก็ตาม

รูปวรรณยุกต์

  •  ่ ไม้เอก
  •  ้ ไม้โท
  •  ๊ ไม้ตรี
  •  ๋ ไม้จัตวา

เสียงวรรณยุกต์

  • เสียงสามัญ
  • เสียงเอก
  • เสียงโท
  • เสียงตรี
  • เสียงจัตวา

  • " ฟันหนู
  •  ุ ตีนเหยียด
  •  ู ตีนคู้
  •  ไม้หน้า
  •  ไม้ม้วน
  •  ไม้มลาย
  •  ไม้โอ


สระและเสียงวรรณยุกต์ไทย
           
  •  ตัวออ
  •  ตัวยอ
  •  ตัววอ
  •  ตัวรึ
  • ฤๅ ตัวรือ
  •  ตัวลึ
  • ฦๅ ตัวลือ

ไตรยางศ์

ไตรยางศ์ หรือ อักษรสามหมู่ คือระบบการจัดหมวดหมู่อักษรไทย (เฉพาะรูปพยัญชนะ) ตามลักษณะการผันวรรณยุกต์ ของพยัญชนะแต่ละหมวด เนื่องจากพยัญชนะไทย เมื่อกำกับด้วยวรรณยุกต์หนึ่งๆ แล้วจะมีเสียงวรรณยุกต์ที่แตกต่างกัน การจัดหมวดพยัญชนะ ทำให้การเรียนภาษาไทยง่ายขึ้น ด้วยเหตุนี้ จึงเชื่อว่า ในชั้นแรกนั้น การแบ่งหมวดหมู่พยัญชนะน่าจะทำขึ้นเพื่อประโยชน์ในการแต่งตำราสอนภาษาไทยแก่นักเรียน

การจัดหมวดหมู่ไตรยางศ์

ไตรยางศ์มีการจัดหมวดหมู่เพื่อแบ่งพยัญชนะไทยออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้

-อักษรสูง มี 11 ตัว ได้แก่ ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส ห

-อักษรกลาง มี 9 ตัว ได้แก่ ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ

-อักษรต่ำ มี 24 ตัว ได้แก่ ค ฅ ฆ ง ช ซ ฌ ญ ฑ ฒ ณ ท ธ น พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ฬ ฮ

ครุและลหุ

ครุ (คะ-รุ) หมายถึง คำหรือพยางค์ในภาษาไทยที่มี "เสียงหนัก" ลหุ (ละ-หุ) หมายถึง คำหรือพยางค์ในภาษาไทยที่มี "เสียงเบา" ซึ่งประสมด้วยสระเสียงสั้นในแม่ ก กา เช่น สุ จิ ปุ ลิ ส(งบ) สะ(อาด) ส(ว่าง) ฯลฯ ครุและลหุ มักใช้เป็นตัวกำหนดฉันทลักษณ์ในบทร้องกรองเช่น ฉันท์ กาพย์ เป็นต้น

ลักษณะของครุ

        เป็นคำหรือพยางค์ที่ประสมด้วยสระเสียงยาวไม่มีตัวสะกดก็ได้  หรือเป็นคำหรือพยางค์ที่มีเสียงตัวสะกดทุกมาตรา  ได้แก่  แม่ กก  กด  กบ  กง  กน  กม  เกย  และเกอว  เช่นคำว่า  ฟ้า  นั่ง  พริก  ไหม  พรม  นนท์  เชษฐ์  เป็นต้น

ลักษณะของลหุ

           เป็นคำหรือพยางค์ที่ประสมด้วยสระเสียงสั้นและไม่มีตัวสะกด  หรือเป็นคำหรือพยางค์ที่มีเสียงสระเสียงสั้นและไม่มีเสียงตัวสะกด  เช่นคำว่า  ณ  ธ  บ่  ก็  พิ  ผิ  ลุ  เจาะ  เหาะ  ทะ  เละ  แพะ  และ  เลอะ  เป็นต้น

การใช้ภาษาไทย

          การใช้ภาษาควรจะใช้อย่างถูกต้องเหมาะสมหากผู้ใช้ภาษามีความรู้เรื่องการใช้ภาษาไม่ดีพอ อาจทำให้การติดต่อสื่อสารเกิดความผิดพลาด สื่อสารได้ไม่ตรงความต้องการ หรือสื่อความได้แต่ไม่เหมาะสม ทำให้ขาดประสิทธิภาพในการสื่อสาร ความผิดพลาดหรือความไม่เหมาะสมที่เกิดขึ้นดังกล่าวล้วนมีสาเหตุมาจากการใช้ภาษาที่บกพร่องหรือไม่คำนึงถึงการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง ดังนั้นการเรียนภาษาไทยอย่างถูกต้อง คือการหลีกเลี่ยงความผิดพลาดเหล่านั้นอย่างเป็นระบบระเบียบ เพื่อประสิทธิภาพในการสื่อสารสูงสุด


ขอบคุณครับ/ค่ะ